ปณชย แดนซ์



       Street Dance สุดยอดสไตร์การเต้นหลายสายพันธุ์

    ใครที่เป็นขาดานซ์ คงเคยออกสไตล์การเต้นแบบมันๆ เลียนแบบสไตล์ดานเซอร์ที่เรามักจะเห็นตามจอทีวี. แต่มีใครรู้บ้างหรือเปล่าลีลาท่าเต้นที่เราพบเห็นกันบ่อยๆตามเวทีคอนเสริต์ต่างๆ ในบ้านเราซึ่งจะพบเห็นได้บ่อยมากในแนวการเต้นชนิดนี้ก็จะเป็นพวกแนวเพลง Franky กับ Hip Hop ทีนี้คงอยากรู้กันแล้วละสินะว่าสไตล์การเต้นที่เราเห็นกันจนชินตาอยู่เป็นประจำ ชื่อเสียงเรียงนามที่เขาเรียกกันอย่างเป็นทางการจริงๆ เขาเรียกแนวการเต้นชนิดนี้ว่าอย่างไรเพื่อไม่ให้เสียเวลาของน้องๆ EDUTAINMENT UP GRADE

   ขอเฉลยคำตอบพร้อมทั้งเปิดตัวแนะนำการเต้นชนิดนี้กันแบบให้ถึงแก่นแท้เลยซึ่งลีลาการเต้นที่กล่าวถึงนี้ตามภาษาสากลโลกที่เขานิยมเรียกกันอย่างเป็นทางการว่า”Street Dance”

   Street Dance เพียงแค่ชื่อนี้วิ่งผ่านหู ทุกคนต้องคิดกันแบบชนิดชี้ชัดเจาะจงไปเลยว่าลีลาการเต้นเทรนด์นี้ต้นตอรากฐานกำเนิดต้องเกี่ยวกับถนนแน่ๆ ใช่แล้วโป๊ะเชะ!ถูกต้องที่สุดลีลาการเต้นแนวนี้ กลุ่มชนคนผิวดำตามเขตพื้นที่สลัมในอเมริกาซึ่งมักจะเป็นผู้คิดค้นแนวการเต้นมันๆที่กระแทกใจวัยโจ๋กันทั่วโลกได้เอาแนวการเต้นที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก นำมาผสมผสานมิกซ์เข้าด้วยกันแล้วนำมาออกลีลาท่าทางตามถนน โดยกลุ่มผิวดำเหล่านี้จะเปิดเพลงจากวิทยุที่พวกเขาพกติดตัวมาด้วย พร้อมทั้งออกลีลาท่าทางกันอย่างสนุกสนาน เท่านั้นยังไม่พอ กลุ่มคนผิวดำยังมีการชักชวนคนที่เดินอยู่ตามท้องถิ่นมาร่วมเต้นกันด้วย

   Street Dance เป็นท่าเต้นที่ผสมผสานกับท่าเต้นรูปแบบต่างๆ ในขั้นพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็น Break dance, Franky  Hip Hop, และ Jazz Dance โดยเอาท่าทางขั้นพื้นฐานของทั้ง หมดมารวมกันจนออกมาเป็น Street Dance ให้น้องๆได้ออกลีลามันๆกันเต็มที่เคล็ดลับจริงๆ ที่ผู้ฝักใฝ่ในการเต้นแนวนี้พึงต้องมีคือ ต้องเป็นคนที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการออกแบบท่า-ให้แหวกแนวแต่ต้องอยู่ในการยอมรับจากเหล่าหมู่ขาดานซ์ด้วยกัน เพราะการเต้นแนวนี้ไม่จำกัดเพศสามารถออกลีลามันๆ เต้นได้ทั้งหญิงและชาย ฝ่ายชายจะมีลีลาท่าเต้นที่ดูแล้วออกแข็งแรง ส่วนฝ่ายหญิงจะเน้นที่ความพร้อมเพรียงและดูสวยงามในทีมเต้นของตัวเองลักษณะพิเศษสุดๆจริงๆเลยของการเต้น Street Dance คือ ผู้เต้นสามารถที่จะเอา ท่าทางของกีฬายิมนาสติก มาประยุกต์ใช้กับลีลาการเต้นนี้ได้อย่างไม่เคอะเขิน ยกตัวอย่าง เช่น ท่าตีลังกา ท่ากังหัน ท่าหมุนหลัง และ ท่าแมงป่อง ซึ่งท่าทางการเต้นเหล่านี้ไม่ถึงขนาดยากจนเกินไปนักจนเหล่าบรรดาเพื่อนนักเต้นทั้งหลายไม่สามารถฝึกปรือฝีมือกันได้ ซึ่งลีลาการเต้นแนวนี้กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในเอเซีย โดยเฉพาะมหาอำนาจแห่งแฟชั่นอย่างประเทศญี่ปุ่นกำลังฮิตติดลมปนไปกับลีลาการเต้นแนวนี้
ได้รู้จักกันเต็มๆ กันไปแล้วกับ Street Dance ทีนี้มีน้องๆ คนไหนอยากออกท่าทางมันๆ เท่ๆ เตะตาหนุ่มๆ สาวๆ ที่พบเห็นPanachai Dance หรือ Kru ton เขาพร้อมตอบรับความต้องการ ของเหล่าวัยทีนกันแบบเต็มที่กับการฝึกสอนเต้น Street Dance จากคณะครูผู้สอนที่ได้รับการยอมรับจากวงการ ดานซ์เซอร์ในบ้านเรา โดยจะมีการสอนใน วันเสาร์-อาทิตย์

ที่ชั้น 6 ติดติดกับ โรงแรม TOWN IN TOWN
ถนน ศรีวรา ซอย ธารทิพย์ ตึก (TOWN IN TOWN CONDO OFFICE)
มือถือ : 086-3245 809, 086-315 3742

เว็บไซต์     : http://streetdance-p-ton-dz.blogspot.com
            : http://panachaidance.blogspot.com
แผนที่      : http://maps.google.co.th

ใครสนใจก็ลองแวะเวียนเข้าไปสอบถามกันได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ

สนใจติดต่อสอบถามที่ ครูต้น T. 086-3245 809, 086-315 3742








panachaidanc


การเต้น Poppin 


     ช่วงนี้ถ้าเดินไปไหนมาไหน เห็นใครเดินตัวกระตุกๆ ก็ไม่ต้องตกกะใจไป เพราะกระแสบอยแบนด์แดนกิมจิ กำลังมาแรงจนยากที่จะเอาอะไรมาฉุดไว้ได้อีกแล้วล่ะ โดยเฉพาะท่าเต้นเท่ห์ๆ ที่เรียกว่า Poppin ที่หนุ่มเกาหลี K-POP เค้าชอบเต้นกันซะเหลือเกิน ก็เลยทำให้ PANACHAI DANCE พากระโจนเข้ากระแส ชวนคนมันส์ซ่าไปทำความรู้จักกับการเต้น Poppin กันซะหน่อยดีกว่า ! 



ไปยังไง มายังไงกันล่ะ Poppin เนี่ย !


     Poppin หรือ Popping เป็นการสมานฉันท์กันระหว่าง funk dance & street dance แต่เป็นการเต้นที่ต้องอาศัยการกระตุกกล้ามเนื้อ หรือข้อต่อของอวัยวะส่วนต่างๆ มองเผินๆ จะดูแข็งๆ แต่ก็แฝงไว้ด้วยความพริ้วไหว เพราะอาศัยความรวดเร็วที่

ผู้เต้นใช้ในการ จัดท่าทางต่างๆ ให้ลงตัว โดยเริ่มมีการเต้นกันมาตั้งแต่ช่วงเกือบๆ ปี 1980 ที่ California นู้นเลย โดยกลุ่ม Poppin ที่ชื่อว่า Electric Boogaloos แต่ถ้าจะพูดถึงศิลปินเดี่ยวที่ปลุกกระแสการเต้น Poppin ให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกก็ไม่ใช่ใครที่ไหน เค้าคือ “Michael Jackson” The King Of Pop ของโลกนั่นเอง ที่คงพอจะจำกันได้กับท่าเต้นแปลกๆ ของเค้า(เมื่อเทียบกับในยุคนั้น) ซึ่งบางทีก็ดูคล้ายกับหุ่นยนต์ใส่ถ่านยังไงอย่างงั้นเลย แต่พอเมื่อเวลาผ่านไปก็ไม่น่าเชื่อว่าการเต้น Poppin ที่เคยดูขัดหูขัดตาเมื่อหลายสิบปีก่อน จะกลับมา Pop (สมชื่อ) กันอีกครั้งในยุคนี้ ด้วยฝีไม้ลายมือ(และหน้าใสๆ )ของหนุ่มเกาหลีเพื่อนบ้านของเรานี่เอง 



ศิลปินเกาหลีวงไหนบ้างล่ะที่เต้น Poppin 



     ถ้า จะเอาระดับโปรจริงๆ ถึงขนาดว่าเป็นปรมาจารย์สอนนักร้องคนอื่นๆ มาแล้วเนี่ย ก็คงต้องยกให้กับหนุ่ม Hyun Joon ที่ถึงขนาดเค้าได้รับฉายาว่า Poppin Hyun Joon กันเลยทีเดียว ซึ่งเค้าได้เคยเป็นอาจารย์สอนการเต้น Poppin ให้กับศิลปินดังๆ มาแล้วมากมาย อย่างเช่น H.O.T, Super Junior, Lee Junki, Boa และ Paran (เก่งไม่เก่งก็คิดดูเอาแล้วกันนะ)


Poppin ท่าไหนถึงจะเท่ห์บาดใจ 


ขอให้เป็น Poppin เถอะ ! จะท่าไหนก็เท่ห์บาดใจได้ทั้งนั้นล่ะ ก่อนจะเริ่มเต้นขอ

แนะ นำว่าอย่าเพิ่งไปทานอะไรมาอิ่มๆ ล่ะ เดี๋ยวจะจุกเอาได้ง่ายๆ นะ เอาล่ะพร้อมจะ Poppin กันรึยัง พร้อมแล้วก็ไปเข้าท่ากันเลยดีกว่านะ(เพราะถ้าไม่เข้าท่า มันก็ไม่ดีไง) เริ่มจากท่าแรกที่จะแนะนำคือ... 


- Boogaloo/Electric boogaloo หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นท่าออริจินอลของ Poppin เลยก็ว่าได้ เพราะเป็นท่าที่กลุ่ม Electric Boogaloos คิดค้นขึ้นมา ลักษณะของท่าก็คือการทำตัวเป็นมนุษย์ไร้กระดูก

เคลื่อนไหวสะโพก หัวเข่าไปจนถึงหัว ให้พริ้วเหมือนกับร่างกายกำลังถูกม้วนเป็น

วงกลมเลย 


- Animation หรือแปลตามตรงได้ว่า ภาพเคลื่อนไหว ที่เรารู้ๆ กันนั่นแหละ เป็นการ

เต้นที่ผู้เต้นจะพยายามทำท่าเลียนแบบภาพบนแผ่นฟิล์มภาพยนตร์ ทีละเฟรม

ทีละเฟรม เป็นภาพต่อเนื่องกัน ใครที่ทำได้เนียนๆ อ่ะนะ ก็จะมองดูคล้ายๆ กับการ์ตูน 

Animation เลยล่ะ 


- Liquid dancing ท่าเต้นที่ให้ผู้เต้นจินตนาการว่าตัวเราเองคือของเหลว ไม่ว่าจะเป็น นิ้วมือ มือ แขนและขา ให้เคลื่อนไหวต่อเนื่องกัน


- Robot/botting ท่านี้ไม่มีอะไรยากเย็น แค่ให้นึกถึงอิริยาบถต่างๆ ของการ์ตูน 

หุ่นยนต์ ที่เราเคยดูกันตอนเด็กๆ นั่นแหละใช่เลย ! แข็งๆ ทื่อๆ แต่ทำแล้วดูเท่ห์ชะมัด !



- Slow motion ท่านี้เหมาะกับคนที่ชอบทำอะไรเชื่องช้า เพราะต้อง

พยายามเยื้องย่างกายให้ช้ามากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดูเหมือนจะง่ายนะ 

แต่จริงๆ แล้วต้องอาศัยการเกร็งตัวอย่างมาก ซึ่งก็จะทำให้รู้สึกเมื่อยน่าดูเลยล่ะ



- Waving คือการเต้นโดยทำตัวให้มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงเหมือนอย่างคลื่นทะเล 

ท่านี้จะคล้ายๆ กับท่า Liquid dancing แต่จะดูเป็นลำดับกัน มีความต่อเนื่องมากกว่า




เอ๊า ! เรียนรู้ท่าต่างๆ ของ Poppin ที่ PANACHAI DANCE เอามาฝากกันหลายท่าแล้ว อยากดูดีมีสาวกรี๊ดเหมือนอย่างหนุ่มหน้าใสบอยแบนด์เกาหลีเค้า ก็ลองไปฝึกเต้นกันดูนะ หรือถ้าหากว่าใครยังไม่สะใจ อยากรู้รายละเอียดและประวัติของ Poppin มากกว่านี้ ก็เข้าไปศึกษาเพิ่มเติมกันต่อที่นี่ได้เลย




ประวัติ Break dance
  คำว่า B-Boying นั้นมีรากศัพท์มาจากภาษาของชนชาติแอฟริกัน คือ คำว่า Boioing หมายความว่า กระโดด,โลดเต้น และถูกใช้ในแถบ Bronx River ในการเรียก รูปแบบการเต้นเบรกกิ้งของกลุ่มชาวบีบอย ตัว B ในคำว่า Bgirl : Bboy นั้นย่อมาจาก Break-Girl : Break-Boy (บางทีก็หมายถึง Boogie หรือ Bronx) B-Boying นั้นยังเป็นที่รู้จักในชื่อ เบรกกิ้ง 
หรือ เบรคแด๊นซ์ (อันหลังได้รับการบัญญัติโดยสื่อมวลชน)
  Breaking นั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Rocking มาก่อน เป็นการสะท้อนของอิทธิพลจากชนชาวแอฟริกัน อเมริกัน หรือวัฒนธรรมชาวลาติน(เปอโตริกัน)ซึ่งมาพร้อมกับการอพยพ และ ปักฐานที่กรุงนิวยอร์กในช่วงปลายยุค60นั่นเอง
  "เบรกกิ้ง" เป็นการเต้นที่ได้รับอิทธิพลจากการเต้นหลากหลายรูปแบบ ทั้งท่วงท่าจากกีฬายิมนาสติก รวมถึงจากศิลปะการเคลื่อนไหวของโลกตะวันออกอีกด้วย เป็นที่คาดคิดกันว่า เบรคกิ้ง หรือเบรคแด๊นซ์นั้นมีรากฐานมาจากคาโปเอร่า หรือ Capoeira คำว่า เบรค (Break)-
-นั้นเป็นช่วงของจังหวะดนตรีที่ดุดันและเร้าใจ ในช่วงจังหวะนี้เหล่านักเต้นจะแสดงอารมณ์ด้วยท่าเต้นที่จะดึงดูดสายตาที่สุดเลยทีเดียวเรียกว่ามีอะไรก็เอามาโชว์ให้หมด Kool DJ Herc เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในการขยายช่วงจังหวะนี้ให้สนุกมากขึ้นด้วยเทิร์นเทเบิ้ลถึงสองตัว โดยเล่นแผ่นเสียงพร้อมกันทั้ง2เครื่องและใช้แผ่นเสียงเพลงเดียวกัน ใช้เทคนิคถูแผ่นต่างๆกันไปซึ่งนักเต้นสามารถจะถ่ายทอดท่าเต้นได้นานกว่าเดิม ที่มักจะเป็นเวลาเพียงไม่กี่
วินาที ในระยะแรกๆนั้นการเต้นจะเป็นท่า upright ที่ภายหลังเป็นที่รู้จักกันใน
  ชื่อ top rocking เป็นท่ายืนเต้น ซึ่งมีอิทธิพลมาจาก Brooklyn uprocking, การเต้นแท็ป , lindy hop , ซัลซ่า, ท่าเต้นของ Afro Cuban, ชนพื้นเมืองแอฟริกันและชนพื้นเมืองชาวอเมริกัน และก็ยังมีท่าท๊อปร็อคแบบ Charleston ที่เรียกว่า"Charlie Rock" อิทธิพลอีกอย่างนั้นมาจาก James Brown กับผลงานเพลงยอดฮิต Popcorn (1969) และ Get on the Good Foot (1972) จากท่าเต้นที่เต็มไปด้วยพลังและรูปแบบที่โลดโผนสนุกสนาน ผู้คนจึงเริ่มที่จะเต้นในแบบ GoodFoot
  ในขณะ ที่การต่อสู้กันด้วยลีลาท่าเต้นเริ่มจะกลายมาเป็นประเพณีการเต้น Rocking หรือ
Breaking นั้นก็เริ่มจะแทรกซึมเข้ามาสู่วัฒนธรรมฮิปฮอป (ปะทะกันด้วยความสร้างสรรค์ไม่ใช่ด้วยอาวุธ) และมันเริ่มพัฒนาท่าเต้นที่เริ่มหลากหลายขึ้น ทั้งการย่ำเท้า การสับขา การลากเท้า และท่วงท่าที่จะใช้ปะทะกัน คือมีดีอะไรก็นำมาโชว์และเป็นที่มาของท่า footwork
(floor rocking) และ freezesFloor rocking มีอิธิพลมาจากภาพยนตร์แนวต่อสู้ ในช่วงปลายยุค 70, การเต้นแท็ป (  ฟุตเวิร์กแบบชาวรัสเซีย,การตบ, การกวาดตัวเคลื่อนย้าย
อย่างรวดเร็ว, ท่าล้อเกวียน ) และท่าอื่นๆ ซึ่ง Floor rocking ได้เข้ามาเป็นท่า เต้นหลักเพิ่มขึ้น จาก toprocking ในช่วงการเต้นขึ้นลงสู่พื้น เรียกว่า การ godown หรือ การ drop ยิ่งทำได้ลื่นไหลมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี
  Freezes นั้นมักใช้ในเป็นท่าจบ ซึ่งมักจะใช้เป็นท่าล้อเลียนหรือท้าทายฝ่ายตรงข้ามหรือคู่ต่อสู้ ท่าที่ยอดฮิตก็คือ chairfreeze และ babyfreeze ท่า chair freeze นั้นกลายเป็นท่าพื้นฐานของหลายๆท่าเพราะว่าระดับความยากง่ายของท่าที่ต้องใช้ความสามารถพอตัว คือ การใช้มือ แขน ข้อศอกในการพยุงตัวในขณะที่เคลื่อนไหวขาและสะโพกเป้าหมายหลักในการปะทะ หรือ Breaking Battle นั้นก็คือ เอาชนะคู่ต่อสู้ด้วยท่าที่ยากกว่า สร้างสรรค์กว่า และรวดเร็วกว่าในทั้งจังหวะและการFreezesซึ่งก็เป็นสิ่งที่ Breaking crews หรือกลุ่มของนักเต้นนั้น เข้ามารวมตัวกันและช่วยกันฝึกฝนและคิดค้นท่าใหม่ๆ เพื่อเอาชนะกลุ่มอื่นๆกลุ่มบีบอยที่เป็นที่รู้จักในช่วงแรกๆ คือ กลุ่ม Nigga Twins และกลุ่มอื่นๆอย่างเช่น TheZulu Kings, The Seven Deadly Sinners, Shang-hai Brothers, The Bronx Boys, Rockwell Association,
Starchild La -Rock,Rock Steady Crew and the Crazy Commanders(CC step) เรียกได้ว่าพวกเขาเป็นผู้บุกเบิกวงการนักเต้นบีบอยยุคแรกๆ ช่วงที่การเต้นแบบนี้เริ่มพัฒนาจนมีเอกลักษณ์ น่าสนใจและสร้างนักเต้นที่เป็นที่รู้จักนั่น ก็คือช่วงกลางยุคปี 70 ก็ได้แก่นักเต้นอย่าง Beaver, Robbie Rob(Zulu Kings), Vinnie, Off (Salsoul), Bos (Starchild La Rock), Willie Wil, Lil' Carlos (Rockwell Association), Spy, Shorty (Crazy Commanders), Jame Bond, Larry Lar, Charlie Rock (KC Crew), Spidey, Walter (Master Plan) ฯลฯ  กลุ่มบีบอยใหญ่ๆที่ทำใหศิลปะการปะทะกันด้วยเบรคแด๊นซ์นี้ไม่หายไป
ก็คือการปะทะกันระหว่างกลุ่ม SalSoul (เปลี่ยนชื่อภายหลังเป็น The DiscoKids) กับกลุ่ม Zulu Kings และระหว่างกลุ่ม Starchild La Rock กับ 
   Rockwell-Association ในขณะนั้น เบรคกิ้ง หรือ เบรคแด๊นซ์ ยังมีแค่ท่า Freezes,
Footworks and Toprocks และ ยังไม่มีท่า Spins!ในช่วงปลายยุค 70 กลุ่มบีบอยรุ่นเก่าๆเริ่มที่จะถอนตัวกันไปและบีบอยรุ่นใหม่ๆก็เริ่มเข้ามาแทนที่ และ คิดค้นสร้างสรรค์ท่าและรูปแบบการเต้นใหม่ๆขึ้น เช่น การหมุนทุกๆส่วนของร่างกาย เพิ่มขึ้นมา ซึ่งเป็นที่นิยมมาจนถึงปัจจุบัน เช่นท่า Headspin, Continues Backspin หรือ Windmill และอื่นๆอีกมาก ที่ได้รับการคิดค้นและพัฒนามาเรื่อยๆ
ในช่วงยุค 80 มีกลุ่มบีบอยหลายๆกลุ่มที่โด่งดังในกรุงนิวยอร์ก ได้แก่'Rock Steady Crew' , 'NYC Breakers' , 'Dynamic Rockers' , 'United States
Breakers' , 'Crazy Breakers' , 'Floor Lords' , 'Floor Masters' , 'Incredible Breakers' , 'Magnificent Force' ฯลฯ บีบอยที่เก่งช่วงนั้นก็เช่น Chino, Brian,
German, Dr. Love (Master Mind), Flip (Scrambling Feet),Tiny (Incredible
Body Mechanic) ฯลฯ. 
การปะทะกันที่ยิ่งใหญ่มากในตอนนั้น เป็นการปะทะกันระหว่าง

Rock Steady Crew กับ NYC Breakers และระหว่าง Rock Steady Crew กับ Dynamic Rockers และในช่วงปลายยุคปี80 การปะทะกันระหว่างกลุ่มเหล่านี้ก็เริ่มดึงดูดสายตาเหล่าสื่อมวลชนและในปี1981 ช่องABCได้ถ่ายทอดการแสดงของ Rock Steady Crew ที่ Lincoln Center และในปี1982 การปะทะกันระหว่าง Rock Steady Crew กับ--Dynamic Rockers ได้รับการบันทึกเป็นสารคดี ในชื่อ "Style Wars" และได้รับการถ่ายทอดอย่างเป็นทางการจากช่อง PBS ซึ่งก็ทำให้ การเต้นเบรกกิ้งเดินทางไปสู่ทางฝั่งตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา และในปีเดียวกันนั้น "Roxy" คลับโรลเลอร์สเก็ตดิสโก้ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้ถูกเปลี่ยนไปเป็น คลับฮิปฮอป.
  ปี1983 ภาพยนตร์ "Flashdance" เป็นที่นิยมอย่างมาก และ มิวสิควีดีโอของMalcolm McLarens ที่ชื่อ "Buffalo Gals" ก็ได้ฉายออกทีวี Rock Steady Crew นั้นได้มีส่วนร่วมแสดงในทั้งสองเรื่องและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกจากความสำเร็จของทั้งภาพยนตร์และเพลงสำหรับคนทั่วไปแล้วการเต้น ?เบรคกิ้ง?นั้นเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่มีใครเคยรู้จักมาก่อน และน่าตื่นตาตื่นใจ และในปีเดียวกันนั้น ภาพยนตร์เรื่อง"Wild Style" ก็ออกฉายและมีการโปรโมตภาพยนตร์ ซึ่งเป็นการออกทัวร์ครั้งแรกของชาวฮิปฮอป มีทั้ง The MCs, DJs, Graffiti artists และ Breakers เดินทางไปโปรโมตที่ London และ Paris การออกโปรโมตครั้งนี้นั้นเป็นครั้งแรกที่โชว์เบรคกิ้ง ได้เปิดการแสดงสดในทวีปยุโรป
  ในปี1984 ภาพยนตร์เรื่อง"Beat Street" เปิดตัวฉายและกลุ่มบีบอยที่ได้แสดงในเรื่องก็คือ Rock Steady Crew, NYC Breakers และ Magnificent Force และในช่วงการแสดงปิดท้ายงาน LA Olympic Summer Games เป็นการแสดงของบีบอย และ บีเกิร์ลกว่า 100คน! และในปีเดียว กัน "Swatch Watch NYC Fresh Tour"ก็ออกฉาย และภาพยนตร์ชื่อ "Breakin" ก็เริ่มถ่ายทำในปี1985 และต่อด้วย "Breakin 2: Electric Boogaloo" ทั้งสองเรื่อง ถ่ายทำในไนท์คลับ ชื่อ "Radio" (ภายหลังชื่อ "Radiotron") ใน LA ' Breakin' หรือ Breakdance' ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของยุคสมัยและแฟชั่น เห็นได้จากโฆษณา ผลิตภัณฑ์นม,RightGuard, Burger King ฯลฯ และรายการทีวี อย่าง Fame, That's Incredible!, David Letterman ฯลฯ ทั้งนี้กลุ่มบีบอยยังได้รับเกียรติให้เป็นแขกกิตติมศักดิ์
ของเจ้าชาย ของ Bahrain และQueen Elizabeth อีกด้วยจวบจนปัจจุบัน "บีบอย" ก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมฮิปฮอป และได้รับความนิยมไม่ว่าจะเป็นมุมไหนของโลก การสร้างสรรค์ลีลาการเต้นที่เป็นสนุกสนานก็ยังคงดำเนินต่อไป.......







ประวัติ K-Pop

ในตลาดวงการ K-Pop มียักษ์ใหญ่อยู่ 2 บริษััท:
-Mnet Media
-Loen Entertainment

          มัน เป็นธุรกิจที่ซีเรียสใช่ย่อยเลยล่ะ เมื่อใดก็ตามที่ศิลปินทำยอดขายอัลบัมได้ นี่คือผู้คนที่กินเงินไปเต็ม ๆ ขณะที่ตัวศิลปินเองได้แค่เพนนีจากดอลลาร์(สตางค์จากบาท) ปกติแล้วทางบริษัทเอนเตอร์เทนเมนต์ต่าง ๆ จะส่งอัลบัมของศิลปินในสังกัดไปให้ทั้งสองที่กล่าวถึงนี้ แล้วทางนั้นจะจัดแจงจัดทำอัลบัมทุกอย่างเอง YG และ DSP ส่งผลงานให้แก่ Mnet ส่วน JYP ส่งผลงานให้ Loen ส่วน SM น่ะหรอ? มีคนเชื่อว่า Mnet หวังอยากได้ SM มาเป็นเครือข่ายด้วยอย่างมาก แต่ถูก SM ปฏิเสธไป ดังนั้น SM จึงจัดการรับผิดชอบเรื่องผลิตและจัดทำอัลบัมด้วยตัวเอง นี่แหละจุดเริ่มต้นของปัญหาล่ะ

ต่อจากนี้ไปเป็นประวัติ K-Pop แบบคร่าว ๆ ที่ควรรู้กัน:

          ดัง นั้นจากเซนส์ง่าย ๆ แล้ว ศิลปินทั้งหลายน่าจะได้รับรายได้ตอบแทนจากเพลงของพวกเขาใช่มั้ยล่ะ? แต่ความเป็นจริงแล้วมันน่าเศร้านักเมื่อเหล่าศิลปินแทบไม่ได้อะไรกลับมาเลย สำหรับยอดขายซีดีต่าง ๆ นั้น กำไรจะวนเข้าเหล่าเจ้าพ่อขาใหญ่ทั้งสองที่กล่าวถึง โดยยอดขายเพลงนั้นคือการนำ ยอดขายซีดีและยอดขายดิจิตอล มารวมกัน ซึ่งตลาดของยอดขายดิจิตอลนั้นใหญ่กว่าตลาดของอัลบัมมากนัก ราว ๆ 7 เท่าเลยทีเดียว และผู้นำตลาดทั้ง 6 ของตลาดดิจิตอลได้แก่:

melon.com
mnet.com
bugs.co.kr
dosirak.com
muz.co.kr (รายนี้เป็นบริษัทลูกของ dorisak แต่ดูเหมือนว่าจะทำการรวมตัวกันไปแล้ว)
cyworld.com

           อีก ครั้งที่กำไรทั้งหลายของยอดขายดิจิตอลนั้นจะตกไปอยู่ในท้องของผู้นำทั้ง 6 เหล่านี้ ศิลปินแทบไม่ได้รับอะไรเลย ที่จริงแล้วบริษัทใหญ่ ๆ อย่าง SM หรือ YG เองก็ไม่ได้กำไรมากมายจากยอดขายเพลงเช่นกัน

         ที่จริงแล้วบริษัททั้งหมดนี้ดูเหมือนจะแตกออกมาจาก 3 บริษัทใหญ่ยักษ์ของเกาหลี

ได้แก่:  SK - บริษัทเทเลคอมที่ใหญ่ที่สุดของเกาหลี เป็นเจ้าของเว็บไซต์ cyworld.com, melon.com, Loen Ent.
          KT - บริษัทเทเลคอมที่ใหญ่รองลงมา เป็นเข้าของ dosirak.com, muz 
          CJ - บริษัทใหญ่ยักษ์อีกบริษัทนึงที่มีกิจการร่วมกับ Samsung เป็นเจ้าของทุก ๆ อย่างที่เป็น Mnet และบริษัทเอนเตอร์เทนเมนต์อื่น ๆ อีกมากมาย 

        อย่างไรก็ตาม SM ได้รับรายได้ปีละราว ๆ 40 ล้านดอลลร์สหรัฐฯ ระหว่างที่ SK ได้ประมาณ 60 พันล้าน ซึ่งพูดตามตรงแล้ว SK สามารถอัด SM ให้ล้มได้ภายในครึ่งวันถ้าพวกเขาอยากนะ

       ดัง นั้นการเข้าใจประวัติของวงการเพลงเกาหลีนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่าง ยิ่งยวด ในฐานะแฟน ๆ ศิลปินของ K-Pop เองแล้ว เนื่องจากทุก ๆ อย่างมันกระทบไปถึงตัวศิลปินเองด้วยเช่นกัน ซึ่งความจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือบริษัทเหล่านี้ครอบครองวงการเพลงอย่าง โหดเหี้ยม พวกเขายังควบคุมสื่ออีกต่างหาก ดังนั้นจึงไม่มีข่าวแย่ ๆ กับบริษัทใหญ่ ๆ พวกนี้ให้เห็นแน่นอน แล้วบริษัทชนชั้นกลางอย่าง SM ที่ไม่ได้แม้กระทั่งรายได้จากยอดขายเพลง จะทำยังไงล่ะ? พวกเขาคงได้เงินมาจากไหนซักทางใช่มั้ย? รวมถึงตารางงานหฤโหดของศิลปินตลอดปีที่มีทั้ง คอนเสิร์ต, อีเวนท์, รายการทีวี ทั้งภายในและนอกประเทศ ความจริงแล้วราว 90% ของตารางงานนั้นแทบไม่เกี่ยวข้องกับอาชีพของศิลปินเองเลย จึงมาที่ข้อสรุปว่าศิลปินนั้นโหมทำงานหนักเกินควร

        ถ้า SM ทำกำไรได้มากพอล่ะก็ พวกเขาคงมีโอกาสยื่นข้อเสนอที่เป็นธรรมให้แก่ศิลปินได้ง่ายกว่านี้ พวกดราม่าระหว่าง SM กับศิลปินต่าง ๆ นั้นคงลงเอยได้อย่างสงบสุข โซนยอชิแดคงไม่ได้รับฉายา 'อีเวนท์ชิแด' อย่างทุกวันนี้ ถึงแม้หลาย ๆ ฝ่ายจะมองว่า SM เป็นปีศาจ แต่ปีศาจตัวจริงน่ะคอยชักใยอยู่เบื้องหลังต่างหาก จินตนาการดูว่าถ้าเพลง 'Gee' ถูกขายบนเว็บ Melon ในราคา 1 ดอลลาร์ SM จะได้ประมาณ 5 นิคเคิลเท่านั้น(1 นิคเคิล = 5 เซนต์) ส่วนโซนยอชิแดน่ะหรอ? พวกเธอคงได้ราว ๆ เพนนีหรือสองเพนนีน่ะแหละ อย่าลืมหาร 9 ด้วยล่ะ! ที่เหลือทั้งหมดตกไปตุงกระเป๋าสตางค์ของ Melon และเหล่าบริษัทเทเลคอมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ฟังดูเยี่ยมมั้ยล่ะ?

-----
PLEASE TAKE OUT WITH FULL CREDITS:
Source: Soompi
Credit: silis7noy2@soompi
แปลไทย: Translator Gang ll SOSHIFANCLUB ll http://www.soshifanclub.com

                         ติดต่อเรา
Dance School

ตึก (TOWN IN TOWN Condo Office) ห้องสอนเต้น KRU TON ขึ้นไปอยู่ชั้น 6
(((+KRU TON+))) Street Dance, HIP-HOP,
                                   popping & locking, K-POP J-POP, B-BOY
สมัครเรียนเต้นกับครู ต้นได้ทุกวันที่ T. 086-3245 809, 086-315 3742

ที่ตั้ง      :           ชั้น4 ติดติดกับโรงแรม TOWN IN TOWN
                            ถนนศรีวรา ซอยธารทิพย์
                           ตึก (TOWN IN TOWN CONDO OFFICE)
มือถือ    :          086-3245 809  , 086-315 3742
เว็บไซต์  :         http://dance-ton.blogspot.com
แผนที่    :         http://maps.google.co.th






ห้องสอนเต้น